/
/
/
เราทำประกันชีวิตให้คนอื่นได้หรือไม่?

เราทำประกันชีวิตให้คนอื่นได้หรือไม่?

เราทำประกันชีวิตให้คนอื่นได้หรือไม่?

เราทำประกันชีวิตให้คนอื่นได้หรือไม่?

/
/
/
เราทำประกันชีวิตให้คนอื่นได้หรือไม่?

เราทำประกันชีวิตให้คนอื่นได้หรือไม่?

เราทำประกันชีวิตให้คนอื่นได้หรือไม่?

คนส่วนใหญ่เลือกที่จะทำประกันชีวิต ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวที่อยู่ข้างหลังกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ต้องจากไปอย่างกระทันหัน หรือไม่ก็ต้องการมีเงินก้อนที่มาพร้อมของแถมเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ซึ่งหลักการของการทำประกันชีวิตนั้น “ผู้เอาประกัน” (ผู้ทำประกัน หรือ ผู้ที่ต้องการได้รับความคุ้มครอง) จะเข้าทำสัญญาประกันชีวิตกับ “ผู้รับประกัน” (บริษัทประกัน) โดยหากเราเป็นผู้ทำประกัน เราจะมีหน้าที่จ่ายเบี้ยประกันให้บริษัทประกัน และบริษัทก็มีหน้าที่จ่ายเงินคืนผู้ทำประกันหรือผู้รับประโยชน์ (ผู้ที่จะได้เงินก้อนกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต) ตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์

ตัวอย่างเช่น กรณีเลือกทำประกันแบบชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance) หากผู้ทำประกันเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด บริษัทประกันจะจ่ายเงินให้กับผู้รับประโยชน์ แต่หากผู้ทำประกันมีชีวิตอยู่จนครบสัญญา บริษัทประกันจะไม่มีการจ่ายเงินคืนให้กับผู้ประกัน ซึ่งถือเป็นเบี้ยสูญเปล่า แต่เบี้ยประกันจะค่อนข้างถูก ส่วนการทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) ซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศไทยนั้น เป็นการคุ้มครองชีวิตและสะสมทร้พย์ไปพร้อมกัน โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินให้ผู้ทำประกันหรือผู้รับประโยชน์ ทั้งในกรณีที่ผู้ทำประกันมีชีวิตอยู่จนครบกำหนด หรือเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์

แล้วถ้าเกิดเพื่อนๆ อยากทำประกันชีวิตให้คนอื่น ประมาณว่า ยอมจ่ายเบี้ยประกันแล้วระบุให้คนอื่นเป็น “ผู้ทำประกัน” ได้หรือไม่  คำตอบ ก็คือ “ทำได้”  แต่มีเงื่อนไขว่า ในขณะที่เข้าทำสัญญาหรือตอนที่ทำประกันชีวิต คนที่เราทำประกันให้นั้นจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับเรา 

ซึ่งคำว่าส่วนได้เสียในชีวิตของเรานั้น แบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้ 

1. ต้องมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันตามกฎหมาย เช่น สามี ภรรยา บิดา มารดา บุตร คู่หมั้น
2. ต้องมีหน้าที่ทางศีลธรรมในการอุปการะเลี้ยงดูตามความเป็นจริง เช่น ลุง ป้า น้า อา พี่ น้อง
3. ต้องมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญา เช่น นายจ้าง-ลูกจ้าง เจ้าหนี้-ลูกหนี้

ยกตัวอย่างกรณีที่กรมธรรม์คุ้มครอง เช่น เราทำประกันที่คุ้มครองทั้งชีวิตและสุขภาพให้กับคุณพ่อ/คุณแม่ของเรา หรือทำประกันชีวิตให้กับคู่หมั้นของเรา โดยที่เราเป็นคนจ่ายเบี้ยประกัน และให้คุณพ่อ/คุณแม่ หรือคู่หมั้น เป็น “ผู้เอาประกัน” และระบุชื่อเรา เป็น “ผู้รับประโยชน์”

แต่ตัวอย่างกรณีที่กรมธรรม์ไม่คุ้มครอง เช่น เราทำประกันให้แฟน ที่ยังไม่ได้เป็นคู่หมั้น หรือยังไม่ได้แต่งงาน  แบบนี้จะถือว่ากรมธรรม์นั้นไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ต้น บริษัทประกันสามารถบอกปฏิเสธการจ่ายเงินตามกรมธรรม์ในภายหลังได้

เห็นมั้ยครับว่า ความรู้เกี่ยวกับการทำประกันชีวิตนั้นสำคัญมาก เราควรศึกษาไว้ให้ดีเพื่อให้กรมธรรม์ประกันชีวิตมีผลสมบูรณ์ เราและคนที่เรารักก็จะได้รับความคุ้มครอง แล้วก็จะได้มีความสุขไปด้วยกันทุกวันยันเกษียณเลยล่ะครับ

เพื่อนๆ สามารถติดตามสาระดีๆ และข้อมูลข่าวสารด้านการวางแผนการเงินและการลงทุน การวางแผนเกษียณ ได้ที่ TISCO Smart Retirement 
#TISCOsmartretirement #สุขทุกวันยันเกษียณ #Smartretirement  #FreedombyTISCOPVD #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ #กองทุนเลี้ยงชีพ #PVD

line Line Official @TISCOASSET

youtube Youtube Channel TISCO Fun(d) Station

facebook Facebook Fanpage : TISCO Asset Management

อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ TISCO Smart Retirement
Scroll to Top
บริการออนไลน์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนรวม

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก