/
/
/
/
สรุปผลกระทบ การขึ้นภาษีนำเข้าใหม่ของ Trump

สรุปผลกระทบ การขึ้นภาษีนำเข้าใหม่ของ Trump

ถึงแม้ว่าหลายฝ่ายจะคาดไว้แล้วว่าการประกาศรายละเอียดภาษีชุดใหม่ของ ปธน. Donald Trump ในวันที่ 2 เม.ย. ที่ผ่านมา จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจโลกและสร้างความผันผวนให้กับตลาดหุ้นในระดับหนึ่งอย่างแน่นอน แต่รายละเอียดของมาตรการภาษีที่ได้ประกาศออกมาจริง ๆ กลับแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งสร้างแรงกดดันให้ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนอย่างรุนแรง และสร้างความกังวลต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกในระยะข้างหน้ามากกว่าที่ประเมินไว้

ซึ่งในบทความนี้เราจะมาเจาะถึงรายละเอียดมาตรการภาษีนำเข้าใหม่ของ Trump ที่ออกมา รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และมุมมองของนักวิเคราะห์ต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้

รายละเอียดภาษีนำเข้าใหม่ของ Trump

มาตรการภาษีนำเข้าใหม่ที่ของ Trump ที่ออกมา มีทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่

1) ภาษีนำเข้าขั้นต่ำ (Baseline Tariff)

  • เก็บภาษี 10% สำหรับทุกสินค้าที่นำเข้ามาในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะสินค้าจะมาจากประเทศไหนก็ตาม (ยกเว้นสินค้าบางประเภทที่กำลังพิจารณาขึ้นภาษีแยกต่างหาก หรือขึ้นไปแล้ว)
  • มีผลเริ่มวันที่ 5 เม.ย. นี้ ตั้งแต่ 11.01 น. เป็นต้นไป (เวลาประเทศไทย) 

2) ภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs)

  • เก็บภาษีส่วนเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าขั้นต่ำ กับประเทศที่สหรัฐฯ มองว่าตั้งกำแพงภาษีกับสหรัฐฯ ไว้สูง ซึ่งมีถึง 60 ประเทศที่โดนภาษีดังกล่าว (มากกว่าที่เคยพูดไว้ที่ 15 ประเทศ)
  • โดยประเทศหลักๆ ที่โดยขึ้นภาษีตอบโต้ ได้แก่ จีน โดนเก็บภาษีตอบโต้ 34% และหากรวมกับภาษี 20% ที่มีอยู่เดิม จะทำให้สินค้าจีนหลายรายการโดนเก็บภาษีรวมสูงกว่า 54% ขณะที่ ยุโรป ถูกเก็บภาษี 20% และ ญี่ปุ่น 24% รวมถึง ประเทศตลาดเกิดใหม่สำคัญ เช่น อินเดีย 26% ,เกาหลีใต้ 25% ,ไต้หวัน 32% ,ไทย 36% กระทั่งเวียดนามก็ถูกเก็บถึง 46% จะเห็นว่าประเทศส่งออกหลักได้รับผลกระทบทั้งสิ้น
  • มีผลเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 9 เม.ย. เวลา 11.01 น. เป็นต้นไป (เวลาประเทศไทย)

ทั้งนี้ แคนาดา และเม็กซิโก ซึ่งเป็นสองประเทศเพื่อนบ้านที่ค้าขายกับสหรัฐฯ มากที่สุด รอดพ้นจากการขึ้นภาษีนำเข้าใหม่ในครั้งนี้ เนื่องจากว่าทั้งสองประเทศถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า 25% อยู่แล้ว ขณะเดียวกันกลุ่มสินค้าที่ไม่ถูกเก็บภาษีชุดใหม่ในครั้งนี้ ได้แก่ ยา เซมิคอนดักเตอร์ ไม้แปรรูป พลังงาน และแร่โลหะมีค่าที่ไม่มีในสหรัฐฯ รวมไปถึงรถยนต์ เหล็ก อะลูมิเนียม ที่ Trump ขึ้นภาษีนำเข้าไปแล้วในช่วงก่อนหน้า

ภายหลังจากที่ Trump แถลงรายละเอียดภาษีนำเข้าจบ ทาง Scott Bessent (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ) ได้ออกมาเตือนประเทศที่ถูกเรียกเก็บภาษี กับสื่อว่า อย่าพยายามตอบโต้กลับ หากไม่มีการตอบโต้ ภาษีครั้งนี้จะเป็นอัตราสูงสุดแล้ว และยังเสริมว่าทางสหรัฐฯ ยังพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศเข้ามาเจรจาด้านการค้าเสมอ ซึ่งช่วงที่ผ่านมาก็มีหลายประเทศที่เข้ามาเจรจาด้านการค้าด้วยกันแล้วเช่นกัน

Market Reaction หลัง Trump ประกาศนโยบายภาษีนำเข้าใหม่

ภายหลังตลาดรับรู้รายละเอียดของนโยบายขึ้นภาษีใหม่ของ Trump ตลาดก็ได้เข้าสู่ภาวะ Risk-off ทันที เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ และอัตราเงินเฟ้อที่อาจจะเร่งตัวขึ้น จากการขึ้นภาษีในครั้งนี้ ซึ่งสะท้อนผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับตัวลงมาอย่างรวดเร็วจนต่ำกว่าระดับ 4.1% ขณะที่ราคาดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกก็ปรับตัวลงแรง นำโดยฝั่งเอเชียที่สะท้อนผ่านราคาก่อนภูมิภาคอื่น อาทิตลาดหุ้นเวียดนาม (VNINDEX) และตลาดหุ้นญี่ปุ่น (NIKKEI225) ที่ปรับตัวลง -6.68% และ -2.71% ตามลำดับ ด้านตลาดหุ้นยุโรป (EURO STOXX 50) และตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) ที่เปิดตามหลังตลาดหุ้นเอเชียก็ปรับตัวลง -3.60% และ -4.84% ตามลำดับเช่นกัน (ข้อมูล อ้างอิง ราคาปิดตลาดของแต่ละดัชนี ณ วันที่ 3 เม.ย. 2025)

มุมมองนักวิเคราะห์ต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจและตลาดทุน

ในเบื้องต้นนักวิเคราะห์ มองว่าประเทศที่ถูกขึ้นภาษีนำเข้า ในครั้งนี้ น่าจะได้รับผลกระทบอย่างมากในมุมอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออก อย่างประเทศในฝั่งเอเชีย ทั้งนี้ประเด็นนี้ยังอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อในประเทศต่างๆ กลับมาเร่งตัวขึ้นด้วย ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้เข้าสู่ภาวะ Stagflation หรืออย่างร้ายแรงอาจเข้าสู่ภาวะ Recession ได้เลย นอกจากมุมเศรษฐกิจแล้วการขึ้นภาษีในครั้งนี้ ยังอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อกำไรของบริษัทในประเทศเหล่านี้ทั้งในมุมทางตรงและทางอ้อม อาทิ กลุ่มส่งออกที่จะได้รับกระทบจากภาษีโดยตรง หรือกลุ่มภาคการบริโภคที่จะได้รับแรงกดดันจากกำลังการบริโภคที่อาจชะลอลง เป็นต้น

อย่างไรก็ดีการขึ้นภาษีในครั้งนี้ของสหรัฐฯ ไม่ได้กระทบเพียงแค่ประเทศที่ถูกขึ้นภาษี แต่แม้กระทั้ง สหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่ขึ้นภาษีเอง ก็ได้รับผลกระทบเชิงลบด้วยเช่นกัน เนื่องจากนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าทั้งหมดที่ออกมา จะทำให้อัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยที่สหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นราว 14-16% ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงราว -1.5 ถึง -2.5% ขณะเดียวการขึ้นภาษีนำเข้าก็ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ กลับมาเร่งตัวขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะ Stagflation หรือ Recession ก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้นักวิเคราะห์ยังประเมินว่าการขึ้นภาษีดังกล่าวยังอาจส่งผลกระทบต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทในดัชนี S&P 500 ราว -6% ถึง -8% ในปีนี้ หรือ จะทำให้ EPS โตเพียง 3% (เดิมคาดโต 7% กรณีขึ้นภาษีเพียง 10%)

ทั้งนี้นักวิเคราะห์บางกลุ่มมองว่าการขึ้นอัตราภาษีที่สูงนี้ เป็นเพียงกลยุทธ์การสร้างอำนาจต่อรองของ Trump ซึ่งอาจหมายความว่าอัตราภาษีดังกล่าวมีโอกาสลดลงได้อยู่ หากประเทศที่ถูกขึ้นภาษีสูงๆ เข้ามาเจรจาด้านการค้าเพิ่มเติมกับสหรัฐฯ และด้วยมุมมองเชิงบวกดังกล่าว ทำให้นักลงทุนกลุ่มนี้มองว่าจังหวะนี้เป็นจังหวะที่ดีในการทยอยเข้าสะสมสินทรัพย์เสี่ยงคุณภาพดี

อย่างไรก็ดีในอีกแง่มุมหนึ่ง ประเทศที่ถูกขึ้นภาษีก็อาจไม่พอใจการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ และใช้มาตรการตอบโต้ภาษีกลับ เหมือนยุโรป แคนาดา เม็กซิโกและจีนที่เคยตอบโต้ในช่วงก่อนหน้า ซึ่งหากเหตุการณ์หลังจากนี้ออกมาในรูปแบบนี้ ก็อาจทำให้เพดานภาษีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บจากประเทศต่างๆ อาจถูกปรับเพิ่มขึ้นได้อีกเช่นกัน ซึ่งจะทำให้ตลาดมีมุมมองเชิงลบต่อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นและทำให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ ปรับตัวลงมากกว่านี้ได้

สุดท้ายนี้หลายฝ่ายเชื่อว่าการตัดสินใจขึ้นภาษีครั้งนี้ของ Trump เป็นการเดิมพันครั้งประวัติศาสตร์ เพื่อพยายามลดดุลการค้าและสร้างความเป็นธรรมทางการค้าให้กับสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดสงครามการค้าโลกครั้งใหญ่ขึ้นก็ตาม

รวมทั้งมองว่าหากไม่มีการตอบโต้เพิ่มเติมจากประเทศต่างๆ นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของ Trump น่าจะใกล้ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว ซึ่งอาจเหลือเพียงรอการเจรจากับแต่ละประเทศว่าจะออกมาในรูปแบบไหน โดยช่วงระยะเวลาก่อนที่ภาษีตอบโต้จะเริ่มมีผลบังคับในช่วงนี้ คาดว่าจะเป็นช่วงสำคัญที่แต่ละประเทศจะพยายามติดต่อกับสหรัฐฯ เพื่อขอเจรจาด้านการค้าเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการภาษีนำเข้าที่ประกาศออกมาในครั้งนี้

ด้วยเหตุนี้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 9 เม.ย. จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่นักลงทุนยังคงต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อนำข้อมูลเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวมาใช้ในการพิจารณาต่อว่า หลังจากนี้ควรลงทุนอย่างไรดี ซึ่งหากผลที่ออกมาเป็นไปในทิศทางที่ดี ก็มีโอกาสที่จะทำให้ตลาดหุ้นกลับมาเป็นภาวะ Risk-on ได้เช่นกัน และจะเป็นจังหวะที่ดีในการกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง

Source: Tax Foundation, Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (TISCO ESU)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ TISCO Contact Center 0 2633 6000 กด 4 , 0 2080 6000 กด 4
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน

รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น มิให้นำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือโดยทางอื่นใด ทิสโก้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่ผู้เดียว

Scroll to Top
บริการออนไลน์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนรวม

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก